วันจันทร์ที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2556

มาตรฐานที่ 2 : ปรัชญา แนวคิด ทฤษฎีการศึกษา (2)


2. ปรัชญานิรันตรนิยม หรือ สัจนิยมวิทยา (Perennialism) 

ความเชื่อตามปรัชญานี้มาจากทัศนะของ เซนต์ โทมัส อะไควนัส (St.Thomas Aquinas) ผู้ซึ่งย้ำว่าพลังแห่งเหตุผลของมนุษย์ ผนวกกับแรงศรัทธา คือเครื่องมือทางความรู้



แนวคิดสำคัญของปรัชญา
ปรัชญานิรันตรนิยม เชื่อว่าคนทุกคนมีธรรมชาติที่เหมือนกัน ดังนั้น การศึกษาจึงควรเป็นแบบเดียวกันสำหรับทุกคน และเนื่องจาก มนุษย์มีคุณสมบัติที่แตกต่างจากสัตว์อื่น คือ เป็นผู้สามารถใช้เหตุผล
 การศึกษาจึงควรเน้นการพัฒนาความมีเหตุผล และการใช้เหตุผล เพราะมนุษย์จำเป็นต้องใช้เหตุผลในการดำรงชีวิตและควบคุมกำกับตนเอง มิใช่นึกจะทำอะไรก็ทำได้ตามใจ ความรู้จะต้องมีลักษณะจีรังยั่งยืนอย่างแท้จริง คงที่ไม่เปลี่ยนแปลงสามารถอนุรักษ์ และถ่ายทอดให้ใช้ได้ ในปัจจุบันและอนาคต


หลักสูตรการศึกษ
เน้นพัฒนาความมีเหตุผลและการใช้เหตุผล การศึกษาเป็นการเตรียมตัวเพื่อ
ชีวิต เป็นสิ่งที่ช่วยให้มนุษย์ปรับตัวเข้ากับความจริงแท้ ที่แน่นอน เด็ก ๆ ควรได้รับการสอนวิชา
พื้นฐานที่สามารถช่วยให้เรียนรู้ความจริงที่เป็นสัจธรรม การศึกษามุ่งที่การเตรียมเด็กให้เป็นผู้ใหญ่
ที่ดีในอนาคต สิ่งที่เด็กควรจะได้ศึกษาเล่าเรียน คือ“Great Books” ซึ่งประกอบด้วย ศาสนา
วรรณคดี ปรัชญา ประวัติศาสตร์ ตรรกศาสตร์ คณิตศาสตร์ ภาษาและดนตรี


การจัดการเรียนการสอนตามปรัชญานี้ จะมุ่งเน้นการสอนให้ผู้เรียนจดจำ ใช้เหตุผล และ ตั้งใจ
กระทำสิ่งต่าง ๆ โดยผู้สอนใช้การบรรยาย ซักถามเป็นหลัก รวมทั้งเป็นผู้ควบคุม ดูแล ให้ผู้เรียน
อยู่ในระเบียบวินัย การปล่อยให้ผู้เรียนมีอิสระจนเกินไปในการเรียนตามใจชอบนั้น เป็นการขัด
ขวางโอกาสที่ผู้เรียนจะได้พัฒนาความสามารถที่แท้จริงของเขาเพราะการค้นพบตัวเองต้องอาศัย
ระเบียบวินัยในตนเอง วิธีการสอนจึงได้แก่ การฝึกฝนทางปัญญา เช่น การอ่าน การเขียน การฝึก
ทักษะ การท่องจำ และการคำนวณ

3. ปรัชญาพิพัฒนนิยม (Progressivism)


เป็นปรัชญาที่ยึดหลักการของปรัชญาสากล สาขาปฏิบัติการนิยม โดยชาลส์ เอส เพียซ (Charles
S. Pierce) ที่มีความเชื่อว่านักเรียนเป็นบุคคลที่มีทักษะพร้อมที่ปฏิบัติงานได้ ครูนั้นเป็นผู้นำทาง
ด้านการทดลองและวิจัย




แนวคิดสำคัญของปรัชญา
ความหมายของปรัชญานี้ คือ “การนำความคิดให้ไปสู่การกระทำ” เพราะเห็นว่าลำพังแต่เพียงการคิดไม่เพียงพอต่อการดำรงชีวิต การดำรงชีวิตที่ดีต้องตั้งอยู่บนพื้นฐานของการคิดที่ดี และ การกระทำที่เหมาะสม ต่อมาจอห์น ดิวอี้ (John Dewey) ได้ทำการศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติม และ หันมาเน้นใช้การศึกษาเป็นเครื่องมือในการพัฒนาตัวผู้เรียนที่เรียกว่า “ learning by doing” โดยเน้นว่าผู้เรียนควรเข้าใจและตระหนักในตนเอง (Self-realization) เพราะคนเราควรต้องรู้เสียก่อนว่าตนเองมีความสนใจอะไรหรือมีปัญหาอะไร ความสนใจและปัญหานี้เองที่ใช้เป็นหลักยึดในการจัดการศึกษา เกิดเป็นวิธีการพัฒนาหลักสูตรและการสอนแบบเน้นเด็กเป็นศูนย์กลาง หลักสูตรจะเป็นเนื้อหาสาระที่เกี่ยวกับประสบการณ์ต่างๆ ของสังคม เช่น ปัญหาของสังคมรวมทั้งแนวทางที่จะแก้ปัญหานั้นๆ ปรัชญาปฏิบัติการนิยม ให้ความสนใจอย่างมากต่อการ “ปฏิบัติ”หรือ “การลงมือกระทำ” การพัฒนาหลักสูตรตามแนวคิดนี้จะเริ่มต้นด้วยคำถามที่ว่า “ผู้เรียน ต้องการเรียนอะไร” ครูเลือกเนื้อหาวิชาและประสบการณ์ให้เหมาะสมกับผู้เรียน เน้นการปลูกฝัง การฝึกอบรม โดยการให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์ และเรียนรู้จากการคิดและการแก้ปัญหา ด้วยตนเองตัวอย่างของหลักสูตรที่ได้รับอิทธิพลจากปรัชญานี้ คือหลักสูตรแบบกิจกรรมและประสบการณ์ (Experience or Activity Curriculum)


ในการจัดการเรียนการสอน ครูจะคอยช่วยเหลือเด็กในการสำรวจปัญหาความต้องการและความ
สนใจของตนเอง คอยแนะนำช่วยเหลือเด็กในการแก้ปัญหาแนะนำแหล่งค้นคว้าเพิ่มเติม การเรียน
การสอนจึงส่งเสริมการฝึกหัดทำโครงการต่างๆเพื่อฝึกแก้ปัญหาโดยอาศัยการอภิปรายซักถามและ
การถกปัญหาร่วมกัน ซึ่งเป็นลักษณะของการจัดการศึกษา ที่มุ่งให้ผู้เรียนสามารถที่จะพิจารณา
ตัดสินใจโดยอาศัยประสบการณ์และผลที่เกิดจากการทำงานเป็นกลุ่มทั้งนี้โดยมีเป้าหมายให้ผู้เรียน
สามารถควบคุมการเปลี่ยนแปลงและปรับปรุงตนเองให้อยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น