วันอังคารที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2556

มาตรฐานที่ 2 : ปรัชญา แนวคิด ทฤษฎีการศึกษา (3)


4. ปรัชญาอัตถิภาวะนิยมหรือปรัชญาสภาพนิยม (Existentialism)

ปรัชญานี้เกิดจากทัศนะ ของเคอการ์ด (Soren Kierkegaard) และสาตร์(Jean Paul Sartre) ที่ให้ความสนใจในตัวบุคคล หรือความเป็นอยู่ มีอยู่ของมนุษย์ซึ่งมักถูกละเลย พวกเขามีความคิดเห็นว่าสภาวะโลกปัจจุบันมีสรรพสิ่งทางเลือกมากมาย เกินความสามารถที่มนุษย์เราจะเรียนรู้ศึกษาและมีประสบการณ์ได้ทั่วถึง มนุษย์เราจึงควรจะมีสิทธิ์ หรือโอกาสที่จะเลือกสรรพสิ่งต่าง ๆ ด้วยตัวของตัวเอง มากกว่าที่จะให้ใครมาป้อนหรือมอบให้




แนวคิดสำคัญของปรัชญา
ทุกสิ่งทุกอย่างไม่อยู่คงที่แต่เปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ความจริง(Truth) เป็นเรื่องนามธรรม ที่ไม่มีคำ
ตอบสำเร็จรูปให้ สาระความจริงก็คือ ความมีอยู่เป็นอยู่ของมนุษย์ (existence) ซึ่งมนุษย์แต่ละคน
จะต้องกำหนดหรือแสวงหาสาระสำคัญ (essence) ด้วยตนเอง โดยการเผชิญกับสถานการณ์ที่
เรียกว่า “existential situation” ซึ่งบุคคลแต่ละคนมีเสรีภาพที่จะเลือกและตัดสินใจด้วยตนเอง
ปรัชญานี้เชื่อว่า ความจริงก็คือ ความมีอยู่เป็นอยู่ของมนุษย์ มนุษย์แต่ละคนต้องกำหนดหรือแสวง
หาสาระสำคัญด้วยตนเอง โดยการเผชิญกับสถานการณ์ ซึ่งมนุษย์แต่ละคนมีเสรีภาพที่จะเลือก
และตัดสินใจด้วยตนเอง เป้าหมายของสังคม จึงต้องมีความมุ่งมั่นที่จะพัฒนาให้คนเรามีอิสรภาพ
และมคี วามรับผิดชอบ และสงิ่ นี้จะเกิดขนึ้ ได้ก็ต่อเมื่อเราพยายามเปิดโอกาสหรือยอมให้ผู้เรียนมี
สิทธิเสรีภาพที่จะเป็นผู้เลือกเอง ครูเป็นเพียงผู้กระตุ้น ปรัชญานี้มีความเชื่อว่า ธรรมชาติของคนก็ดี
สภาพแวดล้อมทางสังคมก็ดีเป็นสิ่งที่ไม่ตายตัว คนแต่ละคนกำหนดชีวิตของตนเองได้เพราะมีอิสระ
ในการเลือก การจัดการศึกษาตามแนวปรัชญานี้ จึงให้ความสำคัญกับการให้เสรีภาพแก่ผู้เรียนใน
การเรียนรู้ให้ผู้เรียนเป็นตัวของตัวเองมากที่สุด และมีเสรีภาพในการเลือกสิ่งที่เรียนตามที่ต้องการ
การจัดหลักสูตรตามแนวปรัชญานี้ ถือว่าหนทางไปสู่ความสำเร็จเป็นเรื่องส่วนบุคคล มุ่งไปที่สาระ
ที่ช่วยให้เด็กมีความเข้าใจตนเองและเป็นตัวของตัวเอง และเน้นการจัดการศึกษาที่พัฒนาหรือ
ช่วยเหลือเด็กเป็นรายบุคคล


การจัดการเรียนการสอน ยึดหลักให้ผู้เรียนได้มีโอกาสรู้จักตนเอง ช่วยให้เด็กมีความเข้าใจตนเอง
และเป็นตัวของตัวเอง เช่น ศิลปะ ปรัชญา การเขียน การอ่าน การละคร โดยมีครูกระตุ้นให้แต่ละ
บุคคลได้ใช้คำถามนำไปสู่เป้าหมายที่ตนเองต้องการ เป็นการจัดการศึกษาที่มุ่งพัฒนาเด็กเป็นราย
บุคคล เน้นให้ผู้เรียนมีความรับผิดชอบในหน้าที่ของตน


5.ปรัชญาปฏิรูปนิยม (Reconstructionism)

ธีโอดอร์ บราเมลด์ (Theodore Brameld) นักปรัชญาการศึกษาชั้นนำของอเมริกา ได้รับเกียรติให้เป็นบิดาของปฏิรูปนิยม เนื่องจาก บราเมลด์ ได้พยายามเสนอแนวคิดให้แตกต่างไปจากปรัชญาพิพัฒนาการนิยมเพื่อแยกออกมาโดยที่มีความเชื่อพื้นฐานเกี่ยวกับผู้เรียน ครู หลักสูตร กระบวนการเรียนการสอน ตลอดจนลักษณะของการจัดการศึกษา เหมือนกับปรัชญาพิพัฒนาการนิยม เว้นแต่ในเป้าหมายทางสังคมเท่านั้นที่แตกต่างกัน คือเห็นว่า แนวความคิดของพิพัฒนาการนิยม มีลักษณะ “เป็นกลาง” มาก
เกินไป จึงไม่สามารถนำไปใช้ในการปฏิรูปการศึกษาในส่วนที่จำเป็นได้



แนวคิดสำคัญของปรัชญา
ปรัชญานี้เชื่อว่า การปฏิรูปสังคมเป็นหน้าที่ของสมาชิกทุกคนในสังคม และการศึกษาเป็นเครื่องมือ
สำคัญ พวกปฏิรูปนิยมมองโรงเรียนว่าเป็นเครื่องมือสำคัญในการสร้างระเบียบทางสังคมขึ้นมาใหม่
การจัดหลักสูตรตามแนวของปฏิรูปนิยม จึงเน้นเนื้อหาสาระและวิธีการที่จะเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้
เรียนรู้ถึงความรับผิดชอบที่จะปฏิรูปและสร้างสังคมใหม่ที่ดีกว่าขึ้นมา ทั้งในระดับชุมชน ประเทศ
และระดับโลกในที่สุด


หลักสูตร จะเน้นการพัฒนาผู้เรียนให้มีความรู้ ความสามารถ และทัศนคติที่จะออกไปปฏิรูปสังคม
ให้ดีขึ้น เนื้อหาวิชาและประสบการณ์ที่เลือกมาบรรจุในหลักสูตรจะเกี่ยวกับสภาพและปัญหาของ
สังคมเป็นส่วนใหญ่ เนื้อหาวิชาเหล่านี้จะเน้นหนักในหมวดสังคมศึกษา เพราะเชื่อว่า การปฏิรูป
สังคมหรือการพัฒนาสังคมให้ดีขึ้น ทำได้โดยใช้กระบวนการช่วยกันแก้ปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นใน
สังคม การจัดระเบียบของสังคม การอยู่ร่วมกันของคนในสังคมและการส่งเสริมประชาธิปไตยจึง
เป็นหน้าที่ของสมาชิกในสังคม ตัวอย่างหลักสูตรตามแนวปรัชญานี้ได้แก่ หลักสูตรเพื่อชีวิตและ
สังคม (Social Process and life Function Curriculum) และ หลักสูตรแบบแกน (Core
Curriculum)
การจัดการเรียนการสอน จะเน้นการให้ผู้เรียนเข้าไปมีส่วนร่วมในกิจกรรมต่างๆทางสังคม และ
เน้นกระบวนการประชาธิปไตยเพื่อการเป็นสมาชิกที่ดี การสอนไม่เน้นการบรรยาย แต่จะเน้น
การอภิปราย และแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องที่เป็นปัญหาของสังคม


6.ปรัชญาการศึกษาผสมผสาน (Eclecticism)

เป็นปรัชญาที่ไม่ใช้แนวคิดของปรัชญาใดปรัชญาหนึ่งทั้งหมด เป็นปรัชญาที่ไม่มีสาระของตนเองที่ตายตัว แต่ได้ผสมผสานปรัชญาหลายปรัชญาเข้าด้วยกันอย่างกลมกลืนและไม่ขัดแย้งกัน เช่น
ปรัชญาการศึกษาไทยตามแนวพุทธธรรมจากการวิเคราะห์ของ สาโรช บัวศรี ที่จัดการศึกษาตามความหมายในนัยทางพระพุทธศาสนา คือ ขันธ์ 5 แนวทางตามหลักพุทธธรรม คือ มรรค 8 ซึ่งย่อได้เป็น ศีล สมาธิ และปัญญา ปรัชญาการศึกษาไทยตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชที่มุ่งพัฒนาและเพิ่มพูนองค์ความรู้ใหม่เพื่อให้บรรลุจุดมุ่งหมายของการศึกษา ควรจัดการศึกษาด้านวิชาการโดยการตอ่ ยอดความรู้ ควบคู่ไปกับการฝกึ ฝนขัดเกลา ทางความคิด ความประพฤติ
และคุณธรรม นอกจากนั้น ควรให้ผู้เรียนได้ศึกษาเรียนรู้เกี่ยวกับตนเอง สิ่งแวดล้อม และ การมี
ปฏิสัมพันธ์ระหว่างตนเองกับสิ่งแวดล้อม การจัดการเรียนการสอนต้องเป็นไปอย่างเหมาะสม
ได้แก ่ การสอนตามขั้นทงั้ สขี่ องอริยสัจที่ได้แก่ ทุกข ์ สมุทัย นิโรธ มรรค






ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น