วันพฤหัสบดีที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2556

มาตรฐานที่ 2 : ปรัชญา แนวคิด ทฤษฎีการศึกษา

ปรัชญา แนวคิด ทฤษฎีการศึกษา

ความหมายของปรัชญาและปรัชญาการศึกษา

มีผู้ให้ความหมายของปรัชญาและปรัชญาการศึกษาไว้หลายท่าน
ยกตัวอย่าง เช่น

พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2525 ให้ความหมายของปรัชญาไว้ว่า “เป็นวิชาว่าด้วยหลักแห่งความรู้และความจริง”

“ปรัชญา คือ ศาสตร์หนึ่งที่มีวัตถุประสงค์ที่จะจัดหมวดหมู่ ระบบความรู้สาขาต่างๆ เพื่อนำมาใช้เป็เครื่องมือทำความเข้าใจและแปลความหมายข้อเท็จจริงต่างๆ อย่างสมบูรณ์แบบ ปรัชญาจะประกอบด้วยวิชา ตรรกวิทยา จริยศาสตร์ สุนทรีศาสตร์ อภิปรัชญาและศาสตร์ที่ว่าด้วยความรู้ทั้งปวงของมนุษย”
( Good, 1959)

“ปรัชญาการศึกษา คือ การค้นหาความเข้าใจในเรื่องการศึกษาทั้งหมด การตีความหมายโดยการใช้ความคิดรวบยอดช่วยแนะแนวทางในการเลือกจุดมุ่งหมายและนโยบายของการศึกษา”
(Kneller, 1971)

โดยสรุป จึงเห็นได้ว่า วิชาปรัชญามีความสัมพันธ์กับการศึกษาในฐานะที่เป็นหลักหรือเหตุผลของ
การคิด และ การกระทำต่าง ๆ ในการจัดการศึกษา ปรัชญาการศึกษาสากลที่สำคัญ และได้รับ
การนำมาใช้เป็นแนวคิดในการจัดหลักสูตรและการสอนของไทย มีดังนี้

1. ปรัชญาสารัตถนิยม (Essentialism)

เป็นปรัชญาการศึกษาที่กำหนดขึ้นโดย วิลเลียม ซี แบกเลย์ (Bagley) โดยผนวกความเชื่อตามหลักปรัชญาของจิตนิยม (Idealism) และสัจนิยม (Realism) ซึ่งเป็นปรัชญาทั่วไป

แนวคิดสำคัญของปรัชญา
ปรัชญาสารัตถนิยมตามแนวจิตนิยม มีความเชื่อว่า การศึกษา คือ เครื่องมือในการสืบทอดมรดก
ทางสังคมซึ่งก็คือวัฒนธรรมและอุดมการณ์ทั้งหลายอันเป็นแก่นสาระสำคัญ (essence) ของสังคม
ให้ดำรงอยู่ต่อไป ดังนั้น หลักสูตรการศึกษา จึงควรประกอบไปด้วยความรู้ ทักษะ เจตคติ ค่านิยม และวัฒนธรรม อันเป็นแก่นสำคัญที่สังคมนั้นเห็นว่าเป็นสิ่งที่ถูกต้องดีงาม สมควรที่จะรักษาและสืบทอด
ให้อนุชนรุ่นหลัง การจัดการเรียนการสอน จะเน้นบทบาทของครูในการถ่ายทอดความรู้ และสาระต่าง ๆ รวมทั้งคุณธรรมและค่านิยมที่สังคมเห็นว่า เป็นสิ่งที่ดีงามแก่ผู้เรียน ผู้เรียน ในฐานะผู้รับสืบทอดมรดกทางสังคมจะต้องอยู่เป็นระเบียบวินัย และพยายามเรียนรู้สิ่งที่ครูถ่ายทอดให้อย่างตั้งใจ

ปรัชญาสารัตถนิยมตามแนวคิดสัจนิยม เชื่อว่า การศึกษาเป็นเครื่องมือในการถ่ายทอดความรู้
และความจริงทางธรรมชาติเกี่ยวกับการดำรงอยู่ของมนุษย์ หลักสูตรการศึกษาตามแนวคิดนี้ จึง
ควรประกอบไปด้วยความรู้ ความจริงและการแสวงหาความรู้เกี่ยวกับกฎเกณฑ์และปรากฏการณ์
ทางธรรมชาติต่างๆ

ความเชื่อตามปรัชญานี้ ครูคือต้นแบบที่ดีที่มีความรู้ จึงจำเป็นต้องทำหน้าที่อบรมสั่งสอนนักเรียน
โดยแสดงการสาธิตหรือเป็นนักสาธิตให้ผู้เรียนได้เรียนรู้และเห็นอย่างจริงจัง ผู้สอนจะพยายามชี้
แจงและให้เหตุผลต่าง ๆ นานา เพื่อให้ผู้เรียนคล้อยตามยอมรับหลักการ ความคิดและค่านิยมที่ครู
นำมาให้ การเรียนจึงไม่เป็นการสร้างสรรค์ความคิดใหม่ๆแต่เป็นการยอมรับในสิ่งที่คนในสังคมเชื่อ
และปฏิบัติกันมา

การจัดการเรียนการสอนตามแนวคิดนี้ จึงเน้นการให้ผู้เรียนแสวงหาข้อมลู ข้อเท็จจริง และการ
สรุปกฎเกณฑ์จากข้อเท็จจริง ตัวอย่างหลักสูตรตามแนวปรัชญาสารัตถนิยม ได้แก่ หลักสูตร
แบบเนื้อหาวิชาและหลักสูตรแบบกว้าง โดยสนับสนุน การสอนแบบ The Three R’s (3R’s) คือ
การอ่านออก เขียนได้ คิดเลขเป็น ส่วนรายละเอียดเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนนั้นจะยึดหลัก
ส่งเสริมให้นักเรียนได้เกิดความรู้ความเข้าใจในความรู้อันสูงสุดให้มากที่สุดเท่าที่นักเรียนแต่ละคน
จะทำได้ วิธีที่ครูส่งเสริมมาก คือการรับรู้และการจำ การจัดนักเรียนเข้าชั้นจะยึดหลักการจัดแบบ
แยกตามลักษณะและระดับความสามารถที่ใกล้เคียงกันของผู้เรียน (Homogeneous Grouping)
เพื่อไม่ให้ผู้ที่เรียนช้าเป็นตัวถ่วงผู้ที่เรียนเร็ว ในการสอนจะคำนึงถึงมาตรฐานทางวิชาการมากกว่า
คำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล ตารางสอนจะเป็นแบบ Block Schedule คือ ทุกคาบมีช่วง
เวลาเท่ากันหมด และเน้นการบรรยาย หรือการพูดของครูเพื่อให้การถ่ายทอดลงสู่ผู้เรียน และการ
รับรู้บังเกิดผลสูงสุด

การประเมินผล จะเน้นเรื่องเนื้อหาสาระหรือความรู้มากที่สุด การปฏิบัติจริงจะออกมาในรูปของ
การทดสอบความสามารถในการจำมากกว่าการทดสอบความสามารถในการคิด การใช้เหตุผล
หรือความเข้าใจในหลักการ ไม่มีการวัดพัฒนาการทางด้านทัศนคติในการบริการ หรือ ปรับปรุง
สังคม แต่เน้นพัฒนาการทางด้านสติปัญญา

(ต่อโพสหน้า)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น