วันอังคารที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2556

มาตรฐานที่ 2 : ปรัชญา แนวคิด ทฤษฎีการศึกษา (3)


4. ปรัชญาอัตถิภาวะนิยมหรือปรัชญาสภาพนิยม (Existentialism)

ปรัชญานี้เกิดจากทัศนะ ของเคอการ์ด (Soren Kierkegaard) และสาตร์(Jean Paul Sartre) ที่ให้ความสนใจในตัวบุคคล หรือความเป็นอยู่ มีอยู่ของมนุษย์ซึ่งมักถูกละเลย พวกเขามีความคิดเห็นว่าสภาวะโลกปัจจุบันมีสรรพสิ่งทางเลือกมากมาย เกินความสามารถที่มนุษย์เราจะเรียนรู้ศึกษาและมีประสบการณ์ได้ทั่วถึง มนุษย์เราจึงควรจะมีสิทธิ์ หรือโอกาสที่จะเลือกสรรพสิ่งต่าง ๆ ด้วยตัวของตัวเอง มากกว่าที่จะให้ใครมาป้อนหรือมอบให้




แนวคิดสำคัญของปรัชญา
ทุกสิ่งทุกอย่างไม่อยู่คงที่แต่เปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ความจริง(Truth) เป็นเรื่องนามธรรม ที่ไม่มีคำ
ตอบสำเร็จรูปให้ สาระความจริงก็คือ ความมีอยู่เป็นอยู่ของมนุษย์ (existence) ซึ่งมนุษย์แต่ละคน
จะต้องกำหนดหรือแสวงหาสาระสำคัญ (essence) ด้วยตนเอง โดยการเผชิญกับสถานการณ์ที่
เรียกว่า “existential situation” ซึ่งบุคคลแต่ละคนมีเสรีภาพที่จะเลือกและตัดสินใจด้วยตนเอง
ปรัชญานี้เชื่อว่า ความจริงก็คือ ความมีอยู่เป็นอยู่ของมนุษย์ มนุษย์แต่ละคนต้องกำหนดหรือแสวง
หาสาระสำคัญด้วยตนเอง โดยการเผชิญกับสถานการณ์ ซึ่งมนุษย์แต่ละคนมีเสรีภาพที่จะเลือก
และตัดสินใจด้วยตนเอง เป้าหมายของสังคม จึงต้องมีความมุ่งมั่นที่จะพัฒนาให้คนเรามีอิสรภาพ
และมคี วามรับผิดชอบ และสงิ่ นี้จะเกิดขนึ้ ได้ก็ต่อเมื่อเราพยายามเปิดโอกาสหรือยอมให้ผู้เรียนมี
สิทธิเสรีภาพที่จะเป็นผู้เลือกเอง ครูเป็นเพียงผู้กระตุ้น ปรัชญานี้มีความเชื่อว่า ธรรมชาติของคนก็ดี
สภาพแวดล้อมทางสังคมก็ดีเป็นสิ่งที่ไม่ตายตัว คนแต่ละคนกำหนดชีวิตของตนเองได้เพราะมีอิสระ
ในการเลือก การจัดการศึกษาตามแนวปรัชญานี้ จึงให้ความสำคัญกับการให้เสรีภาพแก่ผู้เรียนใน
การเรียนรู้ให้ผู้เรียนเป็นตัวของตัวเองมากที่สุด และมีเสรีภาพในการเลือกสิ่งที่เรียนตามที่ต้องการ
การจัดหลักสูตรตามแนวปรัชญานี้ ถือว่าหนทางไปสู่ความสำเร็จเป็นเรื่องส่วนบุคคล มุ่งไปที่สาระ
ที่ช่วยให้เด็กมีความเข้าใจตนเองและเป็นตัวของตัวเอง และเน้นการจัดการศึกษาที่พัฒนาหรือ
ช่วยเหลือเด็กเป็นรายบุคคล


การจัดการเรียนการสอน ยึดหลักให้ผู้เรียนได้มีโอกาสรู้จักตนเอง ช่วยให้เด็กมีความเข้าใจตนเอง
และเป็นตัวของตัวเอง เช่น ศิลปะ ปรัชญา การเขียน การอ่าน การละคร โดยมีครูกระตุ้นให้แต่ละ
บุคคลได้ใช้คำถามนำไปสู่เป้าหมายที่ตนเองต้องการ เป็นการจัดการศึกษาที่มุ่งพัฒนาเด็กเป็นราย
บุคคล เน้นให้ผู้เรียนมีความรับผิดชอบในหน้าที่ของตน


5.ปรัชญาปฏิรูปนิยม (Reconstructionism)

ธีโอดอร์ บราเมลด์ (Theodore Brameld) นักปรัชญาการศึกษาชั้นนำของอเมริกา ได้รับเกียรติให้เป็นบิดาของปฏิรูปนิยม เนื่องจาก บราเมลด์ ได้พยายามเสนอแนวคิดให้แตกต่างไปจากปรัชญาพิพัฒนาการนิยมเพื่อแยกออกมาโดยที่มีความเชื่อพื้นฐานเกี่ยวกับผู้เรียน ครู หลักสูตร กระบวนการเรียนการสอน ตลอดจนลักษณะของการจัดการศึกษา เหมือนกับปรัชญาพิพัฒนาการนิยม เว้นแต่ในเป้าหมายทางสังคมเท่านั้นที่แตกต่างกัน คือเห็นว่า แนวความคิดของพิพัฒนาการนิยม มีลักษณะ “เป็นกลาง” มาก
เกินไป จึงไม่สามารถนำไปใช้ในการปฏิรูปการศึกษาในส่วนที่จำเป็นได้



แนวคิดสำคัญของปรัชญา
ปรัชญานี้เชื่อว่า การปฏิรูปสังคมเป็นหน้าที่ของสมาชิกทุกคนในสังคม และการศึกษาเป็นเครื่องมือ
สำคัญ พวกปฏิรูปนิยมมองโรงเรียนว่าเป็นเครื่องมือสำคัญในการสร้างระเบียบทางสังคมขึ้นมาใหม่
การจัดหลักสูตรตามแนวของปฏิรูปนิยม จึงเน้นเนื้อหาสาระและวิธีการที่จะเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้
เรียนรู้ถึงความรับผิดชอบที่จะปฏิรูปและสร้างสังคมใหม่ที่ดีกว่าขึ้นมา ทั้งในระดับชุมชน ประเทศ
และระดับโลกในที่สุด


หลักสูตร จะเน้นการพัฒนาผู้เรียนให้มีความรู้ ความสามารถ และทัศนคติที่จะออกไปปฏิรูปสังคม
ให้ดีขึ้น เนื้อหาวิชาและประสบการณ์ที่เลือกมาบรรจุในหลักสูตรจะเกี่ยวกับสภาพและปัญหาของ
สังคมเป็นส่วนใหญ่ เนื้อหาวิชาเหล่านี้จะเน้นหนักในหมวดสังคมศึกษา เพราะเชื่อว่า การปฏิรูป
สังคมหรือการพัฒนาสังคมให้ดีขึ้น ทำได้โดยใช้กระบวนการช่วยกันแก้ปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นใน
สังคม การจัดระเบียบของสังคม การอยู่ร่วมกันของคนในสังคมและการส่งเสริมประชาธิปไตยจึง
เป็นหน้าที่ของสมาชิกในสังคม ตัวอย่างหลักสูตรตามแนวปรัชญานี้ได้แก่ หลักสูตรเพื่อชีวิตและ
สังคม (Social Process and life Function Curriculum) และ หลักสูตรแบบแกน (Core
Curriculum)
การจัดการเรียนการสอน จะเน้นการให้ผู้เรียนเข้าไปมีส่วนร่วมในกิจกรรมต่างๆทางสังคม และ
เน้นกระบวนการประชาธิปไตยเพื่อการเป็นสมาชิกที่ดี การสอนไม่เน้นการบรรยาย แต่จะเน้น
การอภิปราย และแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องที่เป็นปัญหาของสังคม


6.ปรัชญาการศึกษาผสมผสาน (Eclecticism)

เป็นปรัชญาที่ไม่ใช้แนวคิดของปรัชญาใดปรัชญาหนึ่งทั้งหมด เป็นปรัชญาที่ไม่มีสาระของตนเองที่ตายตัว แต่ได้ผสมผสานปรัชญาหลายปรัชญาเข้าด้วยกันอย่างกลมกลืนและไม่ขัดแย้งกัน เช่น
ปรัชญาการศึกษาไทยตามแนวพุทธธรรมจากการวิเคราะห์ของ สาโรช บัวศรี ที่จัดการศึกษาตามความหมายในนัยทางพระพุทธศาสนา คือ ขันธ์ 5 แนวทางตามหลักพุทธธรรม คือ มรรค 8 ซึ่งย่อได้เป็น ศีล สมาธิ และปัญญา ปรัชญาการศึกษาไทยตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชที่มุ่งพัฒนาและเพิ่มพูนองค์ความรู้ใหม่เพื่อให้บรรลุจุดมุ่งหมายของการศึกษา ควรจัดการศึกษาด้านวิชาการโดยการตอ่ ยอดความรู้ ควบคู่ไปกับการฝกึ ฝนขัดเกลา ทางความคิด ความประพฤติ
และคุณธรรม นอกจากนั้น ควรให้ผู้เรียนได้ศึกษาเรียนรู้เกี่ยวกับตนเอง สิ่งแวดล้อม และ การมี
ปฏิสัมพันธ์ระหว่างตนเองกับสิ่งแวดล้อม การจัดการเรียนการสอนต้องเป็นไปอย่างเหมาะสม
ได้แก ่ การสอนตามขั้นทงั้ สขี่ องอริยสัจที่ได้แก่ ทุกข ์ สมุทัย นิโรธ มรรค






วันจันทร์ที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2556

มาตรฐานที่ 2 : ปรัชญา แนวคิด ทฤษฎีการศึกษา (2)


2. ปรัชญานิรันตรนิยม หรือ สัจนิยมวิทยา (Perennialism) 

ความเชื่อตามปรัชญานี้มาจากทัศนะของ เซนต์ โทมัส อะไควนัส (St.Thomas Aquinas) ผู้ซึ่งย้ำว่าพลังแห่งเหตุผลของมนุษย์ ผนวกกับแรงศรัทธา คือเครื่องมือทางความรู้



แนวคิดสำคัญของปรัชญา
ปรัชญานิรันตรนิยม เชื่อว่าคนทุกคนมีธรรมชาติที่เหมือนกัน ดังนั้น การศึกษาจึงควรเป็นแบบเดียวกันสำหรับทุกคน และเนื่องจาก มนุษย์มีคุณสมบัติที่แตกต่างจากสัตว์อื่น คือ เป็นผู้สามารถใช้เหตุผล
 การศึกษาจึงควรเน้นการพัฒนาความมีเหตุผล และการใช้เหตุผล เพราะมนุษย์จำเป็นต้องใช้เหตุผลในการดำรงชีวิตและควบคุมกำกับตนเอง มิใช่นึกจะทำอะไรก็ทำได้ตามใจ ความรู้จะต้องมีลักษณะจีรังยั่งยืนอย่างแท้จริง คงที่ไม่เปลี่ยนแปลงสามารถอนุรักษ์ และถ่ายทอดให้ใช้ได้ ในปัจจุบันและอนาคต


หลักสูตรการศึกษ
เน้นพัฒนาความมีเหตุผลและการใช้เหตุผล การศึกษาเป็นการเตรียมตัวเพื่อ
ชีวิต เป็นสิ่งที่ช่วยให้มนุษย์ปรับตัวเข้ากับความจริงแท้ ที่แน่นอน เด็ก ๆ ควรได้รับการสอนวิชา
พื้นฐานที่สามารถช่วยให้เรียนรู้ความจริงที่เป็นสัจธรรม การศึกษามุ่งที่การเตรียมเด็กให้เป็นผู้ใหญ่
ที่ดีในอนาคต สิ่งที่เด็กควรจะได้ศึกษาเล่าเรียน คือ“Great Books” ซึ่งประกอบด้วย ศาสนา
วรรณคดี ปรัชญา ประวัติศาสตร์ ตรรกศาสตร์ คณิตศาสตร์ ภาษาและดนตรี


การจัดการเรียนการสอนตามปรัชญานี้ จะมุ่งเน้นการสอนให้ผู้เรียนจดจำ ใช้เหตุผล และ ตั้งใจ
กระทำสิ่งต่าง ๆ โดยผู้สอนใช้การบรรยาย ซักถามเป็นหลัก รวมทั้งเป็นผู้ควบคุม ดูแล ให้ผู้เรียน
อยู่ในระเบียบวินัย การปล่อยให้ผู้เรียนมีอิสระจนเกินไปในการเรียนตามใจชอบนั้น เป็นการขัด
ขวางโอกาสที่ผู้เรียนจะได้พัฒนาความสามารถที่แท้จริงของเขาเพราะการค้นพบตัวเองต้องอาศัย
ระเบียบวินัยในตนเอง วิธีการสอนจึงได้แก่ การฝึกฝนทางปัญญา เช่น การอ่าน การเขียน การฝึก
ทักษะ การท่องจำ และการคำนวณ

3. ปรัชญาพิพัฒนนิยม (Progressivism)


เป็นปรัชญาที่ยึดหลักการของปรัชญาสากล สาขาปฏิบัติการนิยม โดยชาลส์ เอส เพียซ (Charles
S. Pierce) ที่มีความเชื่อว่านักเรียนเป็นบุคคลที่มีทักษะพร้อมที่ปฏิบัติงานได้ ครูนั้นเป็นผู้นำทาง
ด้านการทดลองและวิจัย




แนวคิดสำคัญของปรัชญา
ความหมายของปรัชญานี้ คือ “การนำความคิดให้ไปสู่การกระทำ” เพราะเห็นว่าลำพังแต่เพียงการคิดไม่เพียงพอต่อการดำรงชีวิต การดำรงชีวิตที่ดีต้องตั้งอยู่บนพื้นฐานของการคิดที่ดี และ การกระทำที่เหมาะสม ต่อมาจอห์น ดิวอี้ (John Dewey) ได้ทำการศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติม และ หันมาเน้นใช้การศึกษาเป็นเครื่องมือในการพัฒนาตัวผู้เรียนที่เรียกว่า “ learning by doing” โดยเน้นว่าผู้เรียนควรเข้าใจและตระหนักในตนเอง (Self-realization) เพราะคนเราควรต้องรู้เสียก่อนว่าตนเองมีความสนใจอะไรหรือมีปัญหาอะไร ความสนใจและปัญหานี้เองที่ใช้เป็นหลักยึดในการจัดการศึกษา เกิดเป็นวิธีการพัฒนาหลักสูตรและการสอนแบบเน้นเด็กเป็นศูนย์กลาง หลักสูตรจะเป็นเนื้อหาสาระที่เกี่ยวกับประสบการณ์ต่างๆ ของสังคม เช่น ปัญหาของสังคมรวมทั้งแนวทางที่จะแก้ปัญหานั้นๆ ปรัชญาปฏิบัติการนิยม ให้ความสนใจอย่างมากต่อการ “ปฏิบัติ”หรือ “การลงมือกระทำ” การพัฒนาหลักสูตรตามแนวคิดนี้จะเริ่มต้นด้วยคำถามที่ว่า “ผู้เรียน ต้องการเรียนอะไร” ครูเลือกเนื้อหาวิชาและประสบการณ์ให้เหมาะสมกับผู้เรียน เน้นการปลูกฝัง การฝึกอบรม โดยการให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์ และเรียนรู้จากการคิดและการแก้ปัญหา ด้วยตนเองตัวอย่างของหลักสูตรที่ได้รับอิทธิพลจากปรัชญานี้ คือหลักสูตรแบบกิจกรรมและประสบการณ์ (Experience or Activity Curriculum)


ในการจัดการเรียนการสอน ครูจะคอยช่วยเหลือเด็กในการสำรวจปัญหาความต้องการและความ
สนใจของตนเอง คอยแนะนำช่วยเหลือเด็กในการแก้ปัญหาแนะนำแหล่งค้นคว้าเพิ่มเติม การเรียน
การสอนจึงส่งเสริมการฝึกหัดทำโครงการต่างๆเพื่อฝึกแก้ปัญหาโดยอาศัยการอภิปรายซักถามและ
การถกปัญหาร่วมกัน ซึ่งเป็นลักษณะของการจัดการศึกษา ที่มุ่งให้ผู้เรียนสามารถที่จะพิจารณา
ตัดสินใจโดยอาศัยประสบการณ์และผลที่เกิดจากการทำงานเป็นกลุ่มทั้งนี้โดยมีเป้าหมายให้ผู้เรียน
สามารถควบคุมการเปลี่ยนแปลงและปรับปรุงตนเองให้อยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข

วันพฤหัสบดีที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2556

มาตรฐานที่ 2 : ปรัชญา แนวคิด ทฤษฎีการศึกษา

ปรัชญา แนวคิด ทฤษฎีการศึกษา

ความหมายของปรัชญาและปรัชญาการศึกษา

มีผู้ให้ความหมายของปรัชญาและปรัชญาการศึกษาไว้หลายท่าน
ยกตัวอย่าง เช่น

พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2525 ให้ความหมายของปรัชญาไว้ว่า “เป็นวิชาว่าด้วยหลักแห่งความรู้และความจริง”

“ปรัชญา คือ ศาสตร์หนึ่งที่มีวัตถุประสงค์ที่จะจัดหมวดหมู่ ระบบความรู้สาขาต่างๆ เพื่อนำมาใช้เป็เครื่องมือทำความเข้าใจและแปลความหมายข้อเท็จจริงต่างๆ อย่างสมบูรณ์แบบ ปรัชญาจะประกอบด้วยวิชา ตรรกวิทยา จริยศาสตร์ สุนทรีศาสตร์ อภิปรัชญาและศาสตร์ที่ว่าด้วยความรู้ทั้งปวงของมนุษย”
( Good, 1959)

“ปรัชญาการศึกษา คือ การค้นหาความเข้าใจในเรื่องการศึกษาทั้งหมด การตีความหมายโดยการใช้ความคิดรวบยอดช่วยแนะแนวทางในการเลือกจุดมุ่งหมายและนโยบายของการศึกษา”
(Kneller, 1971)

โดยสรุป จึงเห็นได้ว่า วิชาปรัชญามีความสัมพันธ์กับการศึกษาในฐานะที่เป็นหลักหรือเหตุผลของ
การคิด และ การกระทำต่าง ๆ ในการจัดการศึกษา ปรัชญาการศึกษาสากลที่สำคัญ และได้รับ
การนำมาใช้เป็นแนวคิดในการจัดหลักสูตรและการสอนของไทย มีดังนี้

1. ปรัชญาสารัตถนิยม (Essentialism)

เป็นปรัชญาการศึกษาที่กำหนดขึ้นโดย วิลเลียม ซี แบกเลย์ (Bagley) โดยผนวกความเชื่อตามหลักปรัชญาของจิตนิยม (Idealism) และสัจนิยม (Realism) ซึ่งเป็นปรัชญาทั่วไป

แนวคิดสำคัญของปรัชญา
ปรัชญาสารัตถนิยมตามแนวจิตนิยม มีความเชื่อว่า การศึกษา คือ เครื่องมือในการสืบทอดมรดก
ทางสังคมซึ่งก็คือวัฒนธรรมและอุดมการณ์ทั้งหลายอันเป็นแก่นสาระสำคัญ (essence) ของสังคม
ให้ดำรงอยู่ต่อไป ดังนั้น หลักสูตรการศึกษา จึงควรประกอบไปด้วยความรู้ ทักษะ เจตคติ ค่านิยม และวัฒนธรรม อันเป็นแก่นสำคัญที่สังคมนั้นเห็นว่าเป็นสิ่งที่ถูกต้องดีงาม สมควรที่จะรักษาและสืบทอด
ให้อนุชนรุ่นหลัง การจัดการเรียนการสอน จะเน้นบทบาทของครูในการถ่ายทอดความรู้ และสาระต่าง ๆ รวมทั้งคุณธรรมและค่านิยมที่สังคมเห็นว่า เป็นสิ่งที่ดีงามแก่ผู้เรียน ผู้เรียน ในฐานะผู้รับสืบทอดมรดกทางสังคมจะต้องอยู่เป็นระเบียบวินัย และพยายามเรียนรู้สิ่งที่ครูถ่ายทอดให้อย่างตั้งใจ

ปรัชญาสารัตถนิยมตามแนวคิดสัจนิยม เชื่อว่า การศึกษาเป็นเครื่องมือในการถ่ายทอดความรู้
และความจริงทางธรรมชาติเกี่ยวกับการดำรงอยู่ของมนุษย์ หลักสูตรการศึกษาตามแนวคิดนี้ จึง
ควรประกอบไปด้วยความรู้ ความจริงและการแสวงหาความรู้เกี่ยวกับกฎเกณฑ์และปรากฏการณ์
ทางธรรมชาติต่างๆ

ความเชื่อตามปรัชญานี้ ครูคือต้นแบบที่ดีที่มีความรู้ จึงจำเป็นต้องทำหน้าที่อบรมสั่งสอนนักเรียน
โดยแสดงการสาธิตหรือเป็นนักสาธิตให้ผู้เรียนได้เรียนรู้และเห็นอย่างจริงจัง ผู้สอนจะพยายามชี้
แจงและให้เหตุผลต่าง ๆ นานา เพื่อให้ผู้เรียนคล้อยตามยอมรับหลักการ ความคิดและค่านิยมที่ครู
นำมาให้ การเรียนจึงไม่เป็นการสร้างสรรค์ความคิดใหม่ๆแต่เป็นการยอมรับในสิ่งที่คนในสังคมเชื่อ
และปฏิบัติกันมา

การจัดการเรียนการสอนตามแนวคิดนี้ จึงเน้นการให้ผู้เรียนแสวงหาข้อมลู ข้อเท็จจริง และการ
สรุปกฎเกณฑ์จากข้อเท็จจริง ตัวอย่างหลักสูตรตามแนวปรัชญาสารัตถนิยม ได้แก่ หลักสูตร
แบบเนื้อหาวิชาและหลักสูตรแบบกว้าง โดยสนับสนุน การสอนแบบ The Three R’s (3R’s) คือ
การอ่านออก เขียนได้ คิดเลขเป็น ส่วนรายละเอียดเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนนั้นจะยึดหลัก
ส่งเสริมให้นักเรียนได้เกิดความรู้ความเข้าใจในความรู้อันสูงสุดให้มากที่สุดเท่าที่นักเรียนแต่ละคน
จะทำได้ วิธีที่ครูส่งเสริมมาก คือการรับรู้และการจำ การจัดนักเรียนเข้าชั้นจะยึดหลักการจัดแบบ
แยกตามลักษณะและระดับความสามารถที่ใกล้เคียงกันของผู้เรียน (Homogeneous Grouping)
เพื่อไม่ให้ผู้ที่เรียนช้าเป็นตัวถ่วงผู้ที่เรียนเร็ว ในการสอนจะคำนึงถึงมาตรฐานทางวิชาการมากกว่า
คำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล ตารางสอนจะเป็นแบบ Block Schedule คือ ทุกคาบมีช่วง
เวลาเท่ากันหมด และเน้นการบรรยาย หรือการพูดของครูเพื่อให้การถ่ายทอดลงสู่ผู้เรียน และการ
รับรู้บังเกิดผลสูงสุด

การประเมินผล จะเน้นเรื่องเนื้อหาสาระหรือความรู้มากที่สุด การปฏิบัติจริงจะออกมาในรูปของ
การทดสอบความสามารถในการจำมากกว่าการทดสอบความสามารถในการคิด การใช้เหตุผล
หรือความเข้าใจในหลักการ ไม่มีการวัดพัฒนาการทางด้านทัศนคติในการบริการ หรือ ปรับปรุง
สังคม แต่เน้นพัฒนาการทางด้านสติปัญญา

(ต่อโพสหน้า)

วันจันทร์ที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2556

มาตรฐานที่ 2 : การพัฒนาหลักสูตร - หลักสูตรแกนกลาง 51

มาตรฐานที่ 2 : การพัฒนาหลักสูตร - หลักสูตรแกนกลาง 51

สวัสดีอีกรอบครับ มาคราวนี้ยังไม่ได้เข้าเนื้อหาตามสาระการเรียนรู้สำหรับมารตฐานที่ 2 นะครับ เนื่องจากว่ายังไม่ได้อ่านเหมือนกัน แต่จะขอเริ่มต้นด้วยสิ่งที่คิดว่าน่าจะสำคัญก่อน  นั่นก็คือ การหาความรู้เกี่ยวกับหลักสูตรแกนกลาง 51 ครับ เท่าที่จำได้จากการทดสอบมาครั้งสองครั้ง หลายๆ มาตรฐานมักจะมีการนำเนื้อหาของหลักสูตรแกนกลางเข้ามาถามอยู่เรื่อยไป ทำให้งงว่ามันเกี่ยวกันยังไงได้นะครับ



สำหรับครั้งนี้ผมก็เลยนำไฟล์หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2551 มาให้ดาวน์โหลดไปอ่านศึกษากันไว้ครับ ท่านใดสนใจก็ดาวน์โหลดจากลิ้งด้านล่างได้เลยครับ

วันอาทิตย์ที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2556

เกริ่นนำก่อน

สวัสดีทุกๆ ท่าน
อาจจะกล่าวได้ว่าท่านที่เข้ามาใน blog นี้คงคาดหวังที่จะหาอ่านเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับมาตรฐานวิชาชีพครู ซึ่งปัจจุบันการทำเราจะสามารถรับราชการครูได้นั้นเราต้องมีใบประกอบวิชาชีพครูก่อน ซึ่งไอ้การได้มาซึ่งใบประกอบใบนี้มันชั่งยากลำบากเสียนี่กระไร

เมื่อก่อนก็ยังสามารถลงทะเบียนเรียนได้ตามมหาวิทยาลัยต่างๆ แต่เนื่องจากเกิดประเด็นมหาวิทยาลัยอีสาน ทำให้ช่องทางการเรียนเพือที่จะได้ใบประกอบวิชาชีพครูสำหรับผู้ที่ไม่ได้เรียนครูมาโดยตรงมันเหลืออยู่ไม่กี่ทาง ช่องทางหนึ่งที่สามารถทำได้ในปัจจุบันก็คือ การสอบมาตรฐานวิชาชีพครู 9 มาตรฐาน ให้ผ่าน ซึ่งการสอบนี้ก็หาหนังสืออ่านกันยากเหลือเกิน



ในที่นี้ blog นี้ก็จะพยายามรวบรวมเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับการสอบมาตรฐานวิชาชีพครูมาให้อ่านกัน โดยจะขอรวบรวมรายละเอียดของมาตรฐานที่ 2 การพัฒนาหลักสูตร และมาตรฐานที่ 6 การบริหารจัดการในห้องเรียนก่อน เนื่องจากผู้เขียนเองก็ยังสอบไม่ผ่าน เหลือสองตัวนี้

เนื้อหาที่จะนำมาแบ่งปันจะพยายามหาเนื้อหาที่มีความเกี่ยวข้องกับสาระการเรียนรู้แต่ละมาตรฐานที่ทางคุรุสภาได้กำหนดไว้ เวลาสอบจะได้ทราบเนื้อหาได้ครบถ้วน

ซึ่งที่นี่จะเอา 2 มาตรฐานตามที่ได้กล่าวไว้ข้างต้นก่อน


2.  การพัฒนาหลักสูตร
สาระความรู้
   1)  ปรัชญา แนวคิดทฤษฎีการศึกษา
   2)  ประวัติความเป็นมาและระบบการจัดการศึกษาไทย
   3)  วิสัยทัศน์และแผนพัฒนาการศึกษาไทย
   4)  ทฤษฎีหลักสูตร
   5)  การพัฒนาหลักสูตร
   6)  มาตรฐานและมาตรฐานช่วงชั้นของหลักสูตร
   7)  การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา  
   8)  ปัญหาและแนวโน้มในการพัฒนาหลักสูตร
สมรรถนะ
   1)  สามารถวิเคราะห์หลักสูตร
   2)  สามารถปรับปรุงและพัฒนาหลักสูตรได้อย่างหลากหลาย
   3)  สามารถประเมินหลักสูตรได้ ทั้งก่อนและหลังการใช้หลักสูตร
   4)  สามารถจัดทำหลักสูตร


6.   การบริหารจัดการในห้องเรียน
สาระความรู้
   1)  ทฤษฎีและหลักการบริหารจัดการ
   2)  ภาวะผู้นำทางการศึกษา
   3)  การคิดอย่างเป็นระบบ
   4)  การเรียนรู้วัฒนธรรมองค์กร
   5)  มนุษยสัมพันธ์ในองค์กร
   6)  การติดต่อสื่อสารในองค์กร  
   7)  การบริหารจัดการชั้นเรียน
   8)   การประกันคุณภาพการศึกษา
   9)  การทำงานเป็นทีม
   10)  การจัดทำโครงงานทางวิชาการ
   11)  การจัดโครงการฝึกอาชีพ
   12)  การจัดโครงการและกิจกรรมเพื่อพัฒนา
12
   13)  การจัดระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการ
   14)  การศึกษาเพื่อพัฒนาชุมชน
สมรรถนะ
   1)  มีภาวะผู้นำ
   2)  สามารถบริหารจัดการในชั้นเรียน
   3)  สามารถสื่อสารได้อย่างมีคุณภาพ
   4)  สามารถในการประสานประโยชน์
   5)  สามารถนำนวัตกรรมใหม่ๆ มาใช้ในการบริหารจัดการ